Mathematic ของวัยซน
เมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มท่องเลขได้
คนเป็นพ่อแม่ก็พากันปลื้มค่ะ ครั้นท่อง One Two Three…ได้อีก
คราวนี้ปลื้มกันสุดๆ เชียวล่ะ
แม้พอถามว่าลูกเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือเปล่า ว่า 1 และ 2 คืออะไร
ถ้าเป็นผลไม้จะมีสักกี่ผล หรือเป็นสิ่งของจะมีสักกี่ชิ้น แล้วได้คำตอบ
“ไม่รู้” ก็ตาม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ ใช่แค่ท่องจำตัวเลข 1 2 3 4…10 หรือ 1
+ 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ
เมื่อเขาเติบโตขึ้น
รู้จัก Mathematic
ทุกวันนี้หมดยุคท่องจำ
หรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่ะ
เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
การเล่นกับลูก ไปเที่ยว หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น นับต้นไม้ ใบไม้
ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลา
และอื่นๆ มากมาย
ที่สำคัญทุกสาขาอาชีพก็ต้องล้วน
เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ บัญชี เทคโนโลยี
การเมือง การปกครอง การทำนา ล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
Mathematic Growing
เมื่อรู้ขอบเขตแล้วก็ส่งเสริมเจ้าตัวเล็กได้ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ
ขวบปีแรก
ลูกสามารถสร้างพื้นฐานทางคณิตได้
ก่อนที่จะบวกหรือลบเป็นเสียอีก
เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ
เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน
ซึ่งความสามารถทางคณิตศาสตร์ของลูกถูกพัฒนาด้วยการกระตุ้นหรือการมีปฏิ
สัมพันธ์กับพ่อแม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบันไดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเจ้า
ตัวเล็กในช่วงวัยต่อไปค่ะ
ขวบปีที่สอง
เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้น
สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2
3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล
มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น
เมื่อตีกลองเขารู้ว่าจะต้องมีเสียงดัง
สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องกระตุ้นลูกบ่อยๆ
จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการมาใช้ได้ดีขึ้น
ขวบปีที่สาม
ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่อง
ง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด
ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ
ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์
หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การจัดวาง
เป็นต้น
พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก กล่าวไว้ว่า “หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์”
คาร์ล เฟรดริช เกาส์
นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ กล่าวว่า
“คณิตศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินสูงสุด”
Fun+Learn in 7 Day
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูก
เริ่มต้นจากการเล่นและการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติค่ะ
ซึ่งทุกกิจวัตรประจำวันถือเป็นโอกาสดีที่จะผสมผสานให้ลูกได้เรียนรู้และเข้า
ใจถึงทักษะง่ายๆ และใกล้ตัว
Monday : เรียนรู้การนับและจำนวน
ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิต ประจำวันขณะกิน เล่น เล่านิทาน เช่น
การนับนิ้วมือ ช่วงแรกให้นับ 1-5 ก่อน แล้วเพิ่มเป็น 10
จากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงไปสู่ตัวเลขที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ลูกเห็นจำนวนที่
แท้จริงมากขึ้น
ซึ่งนอกจากลูกจะได้เรียนรู้การ นับแล้ว
ยังได้เรียนรู้สรรพนามที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และผลไม้ต่างๆ
ซึค่งจะทำให้เขาเรียนรู้เรื่องของเซ็ท หรือการจัดหมวดหมู่ได้ง่ายขึ้นค่ะ
เช่น
1 = ขนมเค้ก 1 ชิ้น 2 = กล้วย 2 ลูก 3 = หมวก 3 ใบ
Tuesday : เรียนรู้ขนาด
สอนด้วยการเปรียบเทียบให้เห็น เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ช่วงแรกใช้แค่ขนาดเล็ก-ใหญ่ก่อน ซึ่งอาจจะเป็นเสื้อผ้า ของเล่นหรือผลไม้
เช่น “กางเกงของลูกตัวเล็กกว่ากางเกงของแม่อีกค่ะ” หรือ “หนูว่าแตงโมกับส้ม
ผลไม้ชนิดไหนใหญ่กว่ากัน” จากนั้นก็เอาของทั้ง 2
อย่างมาเปรียบเทียบให้ลูกดู
Wednesday : เรียนรู้ปริมาณและน้ำหนัก
ทำให้ลูกดูได้เรียนรู้มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน เช่น การเทน้ำใส่แก้ว การตักทราบใส่ถัง เก็บของใส่กล่อง เช่น
นำแก้วสามใบ และนม แก้วใบแรกใส่นมเต็มแก้ว ใบที่สองใส่ครึ่งแก้ว
และใบที่สามไม่ต้องใส่ ลองถามลูกว่าแก้วใบไหนเต็มใบไหนว่าง
และใบไหนมีนมครึ่งแก้ว เด็กวัยนี้จะสามารถเรียนรู้ความหมายของคำว่าเต็ม
และว่างเปล่า แต่บอกไม่ได้ว่าครึ่งแก้วเป็นอย่างไร
หรืออาจเปรียบเทียบน้ำหนัก ด้วยการให้ลูกลองยกของที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน
แล้วถามว่าของสิ่งไหนหนักกว่ากัน
Thursday : เรียนรู้รูปทรง
การเล่นแท่งบล็อก ลูกได้เรียนรู้ทั้งรูปทรง การเปรียบเทียบสีสัน ขนาด
ตำแหน่งที่วาง การจัดหมวดหมู่
และการนับจำนวนโดยคุณแม่อาจตั้งคำถามให้ลูกคิด เช่น
“มีแท่งบล็อกสี่เหลี่ยมกี่แท่งนะ” หรือ
“ไหนหนูลองแยกแท่งบล็อกที่มีสีเหมือนกันซิค่ะ”
Friday : เรียนรู้เวลา
สอนให้ลูกเรียนรู้จากสิ่งที่ง่าย ก่อน เช่น ก่อน-หลัง เร็ว-ช้า
วันนี้-พรุ่งนี้ ด้วยการพูดคุยกับลูก เช่น
“ถ้าหนูเดินเร็วเราก็จะไปถึงสนามเด็กเล่นเร็ว แต่ถ้าเดินช้าก็ไปถึงช้า”
หรือ “พรุ่งนี้วันเสาร์แม่จะพาลูกไปเที่ยวสวนสนุก ตอน 8 โมงเช้า
ลูกอยากไปมั้ยจ๊ะ”
Saturday : เรียน วัน เดือน ปี
โดยเริ่มต้นให้ลูกเรียนรู้จาก กิจกรรมง่ายๆ
หรืออาจยกตัวอย่างเป็นวันสำคัญหรือเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์
ลอยกระทง มาให้ลูกฟังก็ได้ค่ะ ลูกจะได้จำจดได้ง่ายขึ้น เช่น
“เดือนมกราคมนี้ก็จะถึงวันเกินของลูกๆ จะมีอายุครบ 2 ขวบแล้วนะ” หรือ
“วันที่ 13 เมษายนนี้ จะเป็นวันสงกรานต์ แม่จะพาลูกไปเล่นสาดน้ำสนุกๆ
กันนะ”
Sunday : เรียนรู้จังหวะ ดนตรี
คุณสามารถฝึกประสบการณ์ทาง
คณิตศาสตร์ให้ลูกได้ด้วยการเรียนรู้จังหวะจากเครื่องดนตรีง่ายๆ เช่น กลอง
ไซโลโฟนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ตีแล้วเกิดเสียง เช่น
การตีกลองโต้ตอบกับลูก ครั้งแรกคุณลองตีกลอง 2 ครั้ง
แล้วให้เจ้าตัวเล็กตีกลองรับ 2 ครั้ง แล้วค่อยเพิ่มเป็น 3 ครั้ง 4 ครั้ง
หรือ 5 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนให้ลูกตีนำและคุณตีตามบ้าง
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจการโต้ตอบจากจังหวะกลองได้
จากกิจกรรมที่ยกตัวอย่าง ก็จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กวัยซนสนใจเล่นคณิตศาสตร์แสนสนุกไปพร้อมๆ กับคุณแล้วล่ะค่ะ.
Mathematic ของวัยซน
giggu
●
Wednesday, September 12, 2012
ขอขอบคุณ: นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 296 กันยายน 2550
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Search this blog
Popular Posts
Labels
Blog Archive
-
▼
2012
(11)
-
▼
September
(11)
- สุดยอดการคูณด้วย 11
- ท่องสูตรคูณด้วยไม้
- ท่องสูตรคูณด้วยการพับกระดาษ
- ตารางท่องสูตรคูณ 12 in 1
- เทคนิคคูณ ทางลัดสูตรคูณแม่ 9
- เทคนิคการลบ ที่ตัวตั้งลงท้ายด้วย 0
- สอนคณิตศาสตร์ให้ลูก
- Mathematic ของวัยซน
- เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการการอบรมครู
- เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการการอบรมครู
- เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการการอบรมครู วิชาคณ...
-
▼
September
(11)
Powered by Blogger.
0 comments:
Post a Comment